จัดอันดับระบบ iOS ทุกรุ่นจากแย่ที่สุดถึงดีที่สุด

 นับตั้งแต่การเปิดตัวสมาร์ทโฟน iPhone จากค่าย Apple ในปี 2550 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการใช้งานอุปกรณ์ของ Apple ตั้งแต่การใช้นิ้วในการสั่งงานในเวอร์ชั่นแรก ไปจนถึงการเพิ่มวิดเจ็ตต่างๆในหน้าจอหลักของเครื่องสมาร์ทโฟน

ถึง ณ.ปัจจุบันที่กำลังรายงานข่าวนี้ ระบบ iOS ที่ใช้งานใน iPhone คือเวอร์ชั่น iOS 15 ที่ได้เปิดตัวในช่วงปี 2564 แต่ก็มีโอกาสที่ดีที่ผู้ใช้งานจะได้เห็นระบบ iOS 16 ในปีนี้ ซึ่งมีข่าวลือว่าจะปรับปรุงการแจ้งเตือนในดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวก่อนหน้านี้ได้รับการปรับแต่งใหม่ คุณลักษณะเบื้องหลังภายในระบบหลายจุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่ทราบ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้รวบรวมสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของระบบ iOS จากทุกเวอร์ชั่น เพื่อจัดอันดับเวอร์ชั่นที่แย่ที่สุด ไปจนถึงเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด

ระบบ iOS 11

ระบบ iOS รุ่นนี้จะมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องวันที่ ทำให้ iPhone รุ่นต่างๆขัดข้อง และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่สั้นลงหลังจากที่ผู้ใช้ได้ทำการอัปเดตระบบ มีการปรับปรุงหลายอย่างใน iOS รุ่นนี้ โดยการเข้าถึงระบบควบคุมส่วนกลาง (Control Center) ทำได้โดยใช้นิ้วปัดบริเวณมุมขวาบนหน้าจอ ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังคงมีอยู่ในระบบ iOS 15

และต่อมาการเปิดตัวของระบบ iOS 11.2 ก็ยังเกิดปัญหาข้อบกพร่องร่วมกับอุปกรณ์ HomeKit ซึ่งทำให้การเข้าถึงและควบคุมอุปกรณ์ภายนอก เช่น หลอดไฟภายในบ้านของคุณมีปัญหาและไม่เกิดประโยชน์ในการใช้งานร่วมกัน

ภาพรวมของการเปิดตัวระบบ iOS ในเวอร์ชั่นนี้ จึงถูกผู้ใช้งานหลายคนมองว่าไม่ค่อยตอบสนองการใช้งานที่ดีนัก รวมถึงไม่ตอบสนองต่อการใช้งานร่วมกับ iPad ในช่วงเวลานั้นเท่าที่ควร แต่ข้อผิดพลาดและปัญหาต่างๆของระบบ iOS 11 ก็ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบ iOS 12 ต่อมา

ระบบ iOS 7

ระบบ iOS 7 ได้เปิดตัวในช่วงปี 2556 ซึ่งเปลี่ยนแปลงการออกแบบหน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน จากรูปแบบที่มีมาแต่ดั้งเดิมในระบบ iOS 1 มาเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายมายิ่งขึ้น

โจนี ไอฟ์ (Jony Ive) ผู้ออกแบบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่ได้เข้ามารับผิดชอบการออกแบบในระบบ iOS 7 แทนที่ สกอตต์ ฟอร์สตอล (Scott Forstall) ซึ่งเคยรับผิดชอบออกแบบระบบ iOS ก่อนหน้านี้ ได้ออกแบบให้อินเตอร์เฟสของระบบมีความเรียบง่ายกว่าเดิม และเพิ่มส่วนของ Control Center ที่สามารถเข้าถึงการตั้งค่า Wi-fi, Bluetooth, โหมดเครื่องบิน และฟังก์ชั่นอื่นๆ โดยไม่ต้องไปแตกที่ไอคอนการตั้งค่า

แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดในบางแง่มุมของระบบ iOS 7 นั่นคือฟ้อนท์ตัวอักษรแบบ Helvetica light (ฟ้อนท์ตัวหนังสือแบบบาง) ซึ่งทำให้ข้อความที่ปรากฎบนหน้าจออ่านได้ยากในบางส่วนของระบบ เช่นข้อความใน SMS หรือชื่อเพลงที่แสดงในแอปเล่นเพลง รวมถึงปุ่มกดที่มีข้อความไม่ชัดเจนในบางครั้ง ทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนใช้การคาดเดาในการกดปุ่มเพื่อดำเนินการต่อขณะใช้งาน

ระบบ iOS 6

ระบบ iOS 6 เริ่มเปิดตัวมาพร้อมๆกับการมาของ iPhone 5S และดูไฮเทคน่าใช้งาน มากว่าระบบ Android และ Windows phone ในช่วงเวลานั้น แต่แอปแผนที่ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เพิ่มเติมมาในระบบ iOS 6 ก็มีปัญหาด้านการใช้งาน กระทั่งทาง Apple ต้องรีบเปิดตัว iOS เวอร์ชั่นใหม่เพื่อแก้ปัญหาในเวลาต่อมา

Apple พยายามที่จะเลิกพึ่งพาแอปแผนที่ของ Google ซึ่งทาง Apple ต้องดำเนินการพัฒนาแอปแผนที่ ของตัวเองที่จะนำมาใช้ใน iPhone ที่จะวางจำหน่ายในรุ่นต่อไป แต่เรื่องนี้น่าจะเกิดขึ้นเป็นผลสำเร็จในระบบ iOS 7

แอปแผนที่ของ Apple แสดงผลลัพท์ที่มีข้อผิดพลาดปรากฎให้เห็น หลังจากที่เปิดให้อัปเดตในเดือนกันยายน 2012 โดยแอปแผนที่แสดงป้ายกำกับที่ไม่ถูกต้อง จุดสังเกตที่บิดเบี้ยวเมื่อดูแผนที่ในโหมดดาวเทียม ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ ทิม คุก ซีอีโอของ Apple ได้ไล่ สกอตต์ ฟอร์สตอล (Scott Forstall) ออก หลังจากที่สกอตต์ปฎิเสธที่จะลงนามในจดหมายขอโทษที่เกี่ยวข้องกับแอปแผนที่นี้

แม้ว่าแอปแผนที่ใน iOS 6 จะเกิดปัญหาเล็กๆน้อยๆในช่วงที่ปล่อยออกมาในปี 2012 แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้สร้างความหงุดหงิดใจให้ผู้ใช้งานหลายคน และกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ก็ล่วงเลยมาถึงระบบ iOS 9 เลยทีเดียว

ระบบ iOS 13

การอัปเดตในเวอร์ชั่นนี้ ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นที่พิเศษสุดจากระบบ iOS ทุกเวอร์ชั่น โดยเวอร์ชั่นแรกที่เผยแพร่ต่อสาธารณะสำหรับผู้ใช้งานคือระบบ iOS 13.1 เนื่องจากข้อบกพร่องที่ไม่ได้รับการแก้ไขทันเวลาเมื่อ iPhone 11 เปิดตัว

ในงานประชุมนักพัฒนาทั่วโลก หรือ WWDC ทาง Apple ได้ประกาศว่าจะนำฟีเจอร์ต่างๆกลับมาใช้ใหม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมา ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่าที่มีการกล่าวถึงเท่านั้น

ฟังชั่น Dark mode, ฟังชั่น Street View ใน Apple Maps, Notes และ Reminders ที่มีการออกแบบใหม่ รวมถึง iPadOS ที่เปิดตัวมาพร้อมกับการรองรับไฟล์จากภายนอก ก็ยังคงมีปัญหาในการใช้งาน

แต่อย่างไรก็ตาม iPad Pro ก็ได้เพิ่มฟังชั่นการใช้งานด้วยเม้าส์ในเวอร์ชั่น 13.4 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้เม้าส์แบบไร้สายเชื่อมต่อกับแท็ปเล็ต และเรียกดูผ่าน iPadOS ได้เหมือนกับแล็ปท็อป แต่แอปต่างๆใน iPad ก็ตอบสนองกับการใช้งานกับเคอร์เซอร์เมาส์ได้ช้า และถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์ แต่ก็ทำให้ผู้ใช้งานบางคนสับสนว่า iPad ควรจะใช้ประโยชน์อย่างไรกันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเครื่องโน็ตบุ๊คทั่วไป

จนกระทั่งในระบบ iOS 13.5 ในงานประชุมนักพัฒนาทั่วโลก WWDC ในปี 2019 iCloud Drive ที่ช่วยในการแชร์โฟลเดอร์พร้อมลิ้งค์ ก็มีใช้ใน iPhone และ iPad คล้ายกับ Microsoft OneDrive และ Google Drive

ระบบ iOS 10

หลังจากที่ระบบ iOS ก่อนเวอร์ชั่น 10 ซึ่งมีรูปแบบที่เริ่มเก่า จึงทำให้การพัฒนาระบบ iOS 10 ถูกปรับเปลี่ยนให้มีอินเตอร์เฟซที่ดูล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น การลบวิดเจ็ทอย่างข้อมูลหุ้นและสภาพอากาศจึงทำได้ง่ายขึ้น

นอกจากเรื่องธีมของระบบที่ออกแบบใหม่ให้ทำงานร่วมกันได้สะดวกขึ้น ผู้ใช้งานยังสามารถใช้คุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า Universal Clipboard ซึ่งสามารถคัดลอกข้อความหรือรูปภาพจาก iPhone และนำไปวางในอุปกรณ์ Apple อื่นๆ เช่นเครื่อง Mac เป็นต้น

ระบบ iOS 10 มาพร้อมกับแอป iMessage ที่ทำให้ผู้ใช้งานสนุกสนานกับการดาวน์โหลดสติกเกอร์ได้เป็นจำนวนมาก แต่การใช้งานก็สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้ได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงการใช้งานส่วนนี้ได้ในส่วนของข้อความเท่านั้น เหนือแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด

ฟังชั่นผู้ช่วยอย่าง Siri มีความสามารถในการเข้าถึงแอปที่ติดตั้งจากบริษัทอื่น ซึ่งคุณสามารถสั่งงานให้ Siri เปิดแอปที่คุณต้องการใช้งานขึ้นมาได้ แต่การตอบสนองของการใช้งานดังกล่าว ยังทำงานได้ค่อนข้างช้าในระบบ iOS 10

โดยรวมแล้วการเปิดตัวของระบบ iOS 10 นี้ ได้มีฟังชั่นที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากขึ้น ในการทำงานร่วมกับแอปจากบริษัทอื่นที่มีการติดตั้งใน iPhone แต่ระบบ iOS นี้กลับไม่มีคุณสมบัติพิเศษใดๆร่วมกับอุปกรณ์อย่าง iPad

ระบบ iOS 9

ระบบ iOS 9 ถูกพัฒนาและปรับแต่งด้วยการแก้ไขข้อบกพร่องด้านความเร็วและความเสถียร โดยมีการเพิ่มโหมดประหยัดพลังงานใน iPhone ในขณะที่ฟังชั่นใน iPad ก็รองรับ Picture in Picture ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้หน้าต่างที่กำลังเล่นวิดีโอ อยู่ในตำแหน่งที่คุณต้องการในระบบ iOS 9

โดยรวมของระบบ iOS เวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่เรียบง่ายและทำงานได้อย่างราบรื่น ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าระบบ iOS นี้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และไม่ค่อยมีปัญหาที่พบเจอจากเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ และเมื่อมองย้อนกลับไป ดูเหมือนว่าระบบ iOS รุ่นนี้จะเป็นอีกรุ่นที่เป็นรากฐานใหม่สำหรับระบบ iOS เวอร์ชั่นใหม่ต่อๆไป

ระบบ iOS 5

ระบบ Siri เปิดตัวครั้งแรกในระบบ iOS 5 ควบคู่กับระบบการแจ้งเตือน Notification Center และแนวคิดในการเป็น PC Free ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้งาน iPhone หรือ iPad แบบไร้สาย โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับ iTunes

iOS 5 ยังได้ประกาศเปิดตัว iCloud ซึ่งได้ถูกนำเสนอในงาน WWDC เมื่อครั้งที่ Steve Jobs ได้ปรากฎตัวในงานประชุมนักพัฒนานี้เป็นครั้งสุดท้าย โดย iCloud จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลของตัวเองได้แบบไร้สายผ่านระบบเครือข่าย ซึ่ง Apple ก็ได้ล้มเลิกการพัฒนาระบบ MobileMe ที่มีลักษณะการใช้งานคล้าย iCloud ไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้

โดย iCloud เป็นฟังชั่นที่ทำงานได้ดีต่อจากระบบ MobileMe ซึ่งในขณะนั้น เมื่อคุณถ่ายรูปจาก iPhone 4S รูปที่คุณถ่ายจะมาปรากฎบนเครื่อง Mac ของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยที่คุณไม่ต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ใดๆต่อกันเลย ซึ่งวิธีนี้เป็นเรื่องที่ Microsoft และ Google ก็ได้ให้ความสำคัญกับระบบของตัวเองเช่นกัน

ระบบ iOS 12

หลังจากการเปิดตัวของระบบ iOS 11 ที่มาพร้อมกับข้อผิดพลาดบางส่วนของระบบ การเปิดตัวของระบบ iOS 12 ในปี 2018 จึงต้องมาพร้อมกับความเสถียรและการปรับปรุงประสิทธิภาพมากมายจากเดิม โดยระบบ iOS 12 ได้นำคุณสมบัติใหม่ 3 อย่างในส่วนด้านหน้าของระบบ นั่นคือ ส่วนของ Shortcuts, การแจ้งเตือนแบบกลุ่ม (grouped notifications) และ ScreenTime

ก่อนหน้าที่จะมาเป็น Shortcuts ในส่วนนี้ถูกเรียกว่า Workflow มาก่อน กระทั่งทาง Apple ได้ซื้อระบบนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของ Apple ในปี 2017 ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้อื่นสามารถสร้างการดำเนินการอัตโนมัติ เพื่อเปิดใช้แอปหรือคุณลักษณะภายในแอปผ่านคำสั่งได้ สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ระดับสูง ทำให้พวกเขาสร้างการทำงานอัตโนมัติใน iOS ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน

และด้วยการจัดการในส่วน grouped notifications และ ScreenTime ทำให้ผู้ใช้สามารถจำกัดเวลาของตนในบางแอพได้ จึงเป็นการเปิดตัวระบบ iOS ใหม่ที่มีเสถียรภาพรวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ที่ดียิ่งขึ้น

ระบบ iOS 14

โดยปกติแล้วจะมีธีมสำหรับ iOS หลักทุกปี แต่สำหรับ iOS 14 จะแตกต่างจาก iOS เวอร์ชั่นอื่น ตรงที่จะมีคุณลักษณะและการปรับแต่งใหม่ๆที่ดึงดูดผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป โดยหน้าจอหลักได้รับการออกแบบใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี ด้วยวิดเจ็ตและไลบรารีแอปเพื่อจัดการแอปของผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น โหมด Picture in picture ได้มีใช้ใน iPhone แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มีเฉพาะในอุปกรณ์ iPad และ Mac เท่านั้น ควบคู่ไปกับเสียงรอบทิศทางใน AirPods ซึ่งมีคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่า และเพิ่มความสามารถในการตั้งค่าแอปบางตัว ให้เป็นแอปเริ่มต้นสำหรับเว็บเบราว์เซอร์และอีเมล

และนั่นเป็นเพียงหนึ่งในสามของสิ่งที่มีมาพร้อมกับระบบ iOS ที่เปิดตัวในช่วงปี 2020 โดยผู้ใช้งานหลายคนสามารถคิดถึงเรื่องการตกแต่งหน้าจอหลักของตัวเอง ด้วยวิดเจ็ตต่างๆ ในขณะที่ลดจำนวนหน้าจอหลักลงด้วย App Library

ระบบ iOS 8

iOS 8 ได้ถูกพูดถึงในงาน WWDC 2014 ซึ่งระบบได้รองรับคีย์บอร์ดของผู้พัฒนารายอื่น รวมถึงการแนะนำ ApplePay ก็เริ่มเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจาก HomeKit เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านผ่านระบบ iOS ได้

นอกจากนี้ระบบ iOS 8 ยังได้เปิดตัวบริการของ Apple Music และได้ปรับปรุงระบบ iCloud ครั้งใหญ่อีกด้วย ซึ่งหลังจากเก้าปีของ iCloud ผู้ใช้งานต้องการใช้บริการในระบบ ที่ต้องมีการจ่ายค่าบริการมากขึ้น และ iCloud Drive คือคำตอบสำหรับกรณีนี้ ซึ่งระบบมีความใกล้เคียงกับการจัดการไฟล์ของ Explorer ใน Windows

ซึ่งสิ่งที่คุณได้รับจาก iOS คือคุณสามารถบันทึกไฟล์จำนวนมากในแอปนี้ และส่งต่อไปยัง Email หรือ Apple Photos

ส่วนทางด้านอินเทอร์เฟซสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งานก็ยังคงมีการปรับปรุง โดยเฉพาะในส่วนของ Message และรูปแบบ Fonts ซึ่งมีรูปตัวอักษรและรูปแบบไอคอนที่ดูสวยงามทันสมัยมากยิ่งขึ้น

โดยรวมแล้ว iOS 8 เป็นเหมือนภาคต่อของระบบ iOS 7 ที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และเป็น iOS ที่ทาง Apple แสดงให้ผู้ใช้งานเห็นว่าบริษัทมีแนวทางที่พัฒนาระบบไปในทางที่ดีเยี่ยม

ระบบ iOS 3 หรือ iPhoneOS 3

หากย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ Apple ได้เปิดตัวระบบโอเอสลำดับที่ 3 ก่อนการเปลี่ยนชื่อมาเป็น iOS คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าภายในปีที่ 3 ของ iPhone ระบบไม่น่าที่จะทำการคัดลอกและวางข้อความ (copy and paste) หรือส่งข้อความมัลติมีเดียได้ แต่ iPhoneOS 3 สามารถทำได้ด้วยวิธีที่ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย

เมื่อคุณกดที่ข้อความค้างไว้ ระบบจะแสดงเมนูขนาดเล็กขึ้นมา ซึ่งจะพบตัวเลือกให้ Copy หรือ Cut ข้อความ และการวาง (paste) ข้อความนั้นด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้สะดวกสบายมากขึ้นแทนการพิมพ์ข้อความนั้นใหม่ด้วยตัวเอง และในโอเอสเวอร์ชั่นนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้งาน E-mail บน iPhone อีกด้วย

ยังมีฟึเจอร์หลักอื่นๆที่มาพร้อมกับโอเอสเวอร์ชั่นนี้อีกเช่น ฟังชั่น spotlight หรือการค้นหา ซึ่งผู้ใช้สามารถปัดหน้าจอไปทางขวา และแถบค้นหาก็จะปรากฎขึ้น และต่อมาเมื่อมีการเปิดตัว iPhone 3GS ที่มาพร้อมกับ iPhoneOS 3 ผู้ใช้งานก็สามารถที่จะบันทึกวิดีโอจากแอปกล้องถ่ายรูปได้อีกด้วย

ระบบ iOS 4

iOS 4 เป็นระบบปฎิบัติการที่ยิ่งใหญ่ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่เพียงเพราะชื่อที่มีการเปลี่ยนจาก iPhoneOS มาเป็น iOS แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะออกแบบใหม่ให้ใช้งานร่วมกับ iPhone 4 ที่เปิดตัวในช่วงนั้น ทุกอย่างจึงได้รับการออกแบบใหม่เพื่อรองรับการแสดงผลของ Retina Display ดังนั้นไอคอน, สี และฟอนต์จึงถูกสร้างใหม่ในความละเอียดที่สูงขึ้น

นอกจากนี้โฟลเดอร์ต่างๆ ก็สามารถนำมาจัดวางบนหน้าจอหลักได้ ซึ่งช่วยให้คุณจัดเก็บแอปได้เก้าแอปในคราวเดียวกัน ระบบสามารถรองรับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เมื่อกดปุ่มโฮมสองครั้ง ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงเมนูที่ด้านล่างของหน้าจอ และสลับไปมาระหว่างแอปต่างๆมากมาย

พร้อมกันนี้ยังมีฟังชั่น FaceTime ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่กลายมาเป็นบริการหลักของอุปกรณ์ของ Apple กระทั่งการเปิดตัว iOS 4.2 ที่ออกแบบให้รองรับกันกับ iPad โดยรองรับการทำงานแบบ Multitasking และการจัดการโฟลเดอร์ในแท็บเล็ตอีกด้วย

ฟีเจอร์หลากหลายเหล่านี้ทำให้ iOS 4 เป็นการอัปเดตที่ผู้ใช้งานหลายคนชื่นชอบ ซึ่งรวมถึงตัวเครื่อง iPhone 4 ที่เปิดตัวมาพร้อมกันในปีนั้นด้วย

ระบบ iOS 1 หรือ iPhoneOS

หากคุณเป็นเจ้าของ iPhone ในยุคแรกของการเปิดตัวระบบ iPhoneOS ในเดือนมิถุนายน 2550 การเปลี่ยนแปลงของระบบปฎิบัติการที่อยู่บนฝ่ามือที่ชื่อ iOS หรือที่รู้จักกันในชื่อ iPhoneOS ในขณะนั้นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก และเมื่อคุณได้ลองใช้มันแล้ว คุณจะไม่อยากกลับไปใช้โทรศัพท์ Nokia หรือ Sony Ericsson ที่มีปุ่มกดอีกเลย

ทุกอย่างของ iPhoneOS เวอร์ชั่นแรกสามารถทำงานได้อย่างตามที่ควรจะเป็น และความน่าดึงดูดใจของการมีหน้าจอขนาด 3.5 นิ้ว ก็ดูเหมาะสมกับผู้ใช้งานในปี 2550

ซึ่งก่อนหน้าที่ App Store จะมีแอปให้ดาวน์โหลดเลือกใช้แบบปัจจุบัน หรือการทำงานแบบ multitasking การ copy and paste จะมีต่อมาใน iOS เวอร์ชั่นต่อไป ตัวระบบ iPhoneOS เวอร์ชั่นแรกนี้ก็รองรับการทำงานในสมัยนั้นได้พอสมควร

ขณะที่อุปกรณ์อย่าง iPod ได้เริ่มเปลี่ยนเป็นใช้งานร่วมกับแอปแล้ว และผู้ใช้งานสามารถเริ่มต้นใช้งาน Google Maps จากอุปกรณ์ของตัวเองได้ ซึ่งถือว่าระบบ iPhoneOS นี้เป็นการปฎิวัติและวางรากฐานสำหรับระบบที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่แค่ iPhone แต่รวมถึงอุปกรณ์ Android และ Windows tablets.

ระบบ iOS 2 หรือ iPhoneOS 2

หลังจากที่ความสามารถในการใช้งานของเว็บแอปเป็นที่นิยมมากขึ้น สตีฟจ็อบส์ก็เริ่มเปิดให้นักพัฒนาแอปทั่วไป สามารถสร้างแอปพื้นฐานที่จะสามารถติดตั้งบน iPhone ได้ ด้วยเหตุนี้ App Store จึงเปิดตัวมาพร้อมกับ iPhoneOS 2.0 และควบคู่มาพร้อมกับ iPhone 3G ในเดือนกรกฎาคม 2551

แม้ว่าจะมีการปรับปรุงการใช้งาน Email ด้วยการสามารถเพิ่มบัญชี Microsoft Exchange เข้าไปได้ รวมถึงฟังชั่น GPS ใน Google Maps แต่ App Store ก็ยังเป็นเพียงบริการที่ยังไม่สมบูรณ์ในเวลานั้น

App Store มีโปรแกรมและเกมให้เลือกมากมาย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมหรือเกมที่ตัวเองชอบมาใช้งานใน iPhone ของตัวเองได้ตามต้องการ ซึ่งก่อนที่การซื้อขายแอปและวิดีโอสตรีมมิ่งต่างๆ จะเป็นเรื่องปกติในการใช้งาน iPhone แบบปัจจุบัน สิ่งที่ดึงดูดความน่าสนใจของผู้ใช้งาน iPhone ในขณะนั้นคือ คุณสามารถใช้งานโปรแกรมหรือเกมได้ในระหว่างการเดินทาง หรือขณะที่นั่งอยู่บนเตียง โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆเพื่อค้นหาแอพใหม่ แต่ทุกอย่างมีพร้อมใช้งานจาก iPhone

App Store จึงเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมหลังจากการเปิดตัว iPhoneOS 2.0 ไปเพียงหนึ่งปี ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการบน iPhone เป็นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ปฎิวัติวงการในขณะนั้น ที่ยังคงไม่มีใครเทียบได้จนถึงทุกวันนี้

ระบบ iOS 15และเราก็มาถึงระบบปฎิบัติการเวอร์ชั่นปัจจุบัน ซึ่งเปิดตัวในช่วงเดือนตุลาคม 2021 ก่อนที่จะมีการเปิดตัวเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่านี้ตามมา สำหรับในเวอร์ชั่นนี้จะอ้างอิงตามประสิทธิภาพการทำงาน แม้ว่า iPadOS 15 จะรองรับการใช้งานวิดเจ็ต แต่ฟังชั่น Focus ก็ถูกนำมาใช้เพื่อให้บางแอปปิดเสียงในบางช่วงเวลาของวัน ซึ่งอาจจะทำให้หน้าจอหลักเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของ Focus ที่เปิดใช้งานในส่วนนี้

ฟังชั่น FaceTime ก็ได้รับการปรับปรุงเพื่อช่วยให้ทำงานร่วมกับ Zoom รวมถึงแอปที่มีลักษณะแบบเดียวกัน โดยสามารถส่งลิ้งค์ไปยังผู้ใช้งานรายอื่นเพื่อเข้าร่วมสนทนา และปรับปรุงคุณภาพการโทรของ FaceTime Audio ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้การรับชมหรือฟังเนื้อหาร่วมกับเพื่อนและครอบครัว สามารถทำได้โดยผ่านฟังชั่น SharePlay ในอุปกรณ์ Apple ซึ่งแอปใน iPhone หรือ iPad สามารถใช้คุณลักษณะนี้ได้ เพียงแค่ต้องอัปเดตเพื่อเปิดใช้งานร่วมกัน

โดยรวมแล้ว iOS 15 เป็นระบบปฎิบัติการที่มีความเสถียรสำหรับ iPhone และ iPad และมีปัญหาน้อยกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ โดยเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกต่างๆให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลเนื้อหาในระหว่างการโทรถึงกันง่ายขึ้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

iPhone 15 with new renovate

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 16